การรักษารากฟัน (Root canal treatment)  

เป็นวิธีการรักษาในบริเวณเนื้อเยื่อในฟัน โพรงเนื้อเยื่อในฟัน หรือคลองรากฟัน ที่เกิดการอักเสบ ติดเชื้อจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปทำลายรากฟัน เนื้อเยื่อในฟัน เนื้อฟัน เส้นเลือด หรือเส้นประสาทภายในซี่ฟัน จนทำให้เกิดอาการปวดฟัน ฟันผุ และเป็นหนอง บวมแดง บางท่านอาจจะมีอาการปวดร้าวถึงศรีษะ หรือรู้สึกปวดเป็นจังหวะ รู้สึกเสียวฟันมากกว่าปกติเวลาดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น โดยทันตแพทย์รักษารากฟันจะกรอกำจัดฟันผุ และเปิดเข้าไปกำจัดเนื้อเยื่อในฟันที่เกิดการอักเสบ ติดเชื้อโดย รอบเพื่อทำความสะอาด ซ่อมแซมรากฟัน ใส่ยา อุดคลองรากฟัน รวมถึงบูรณะฟันให้กลับมามีสุขภาพดี แข็งแรง สวยงาม และสามารถทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

คำถามที่พบบ่อย รักษารากฟัน

ฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน ทำเดือยฟัน ทำครอบฟัน เสร็จสิ้นแล้วจะถูกบูรณะในสภาพที่แข็งแรง  ก็จะอยู่ได้นานพอๆกับฟันธรรมชาติ ต่างกันที่ฟันที่ผ่านการรักษารากฟันมาจะไม่มีเส้นประสาทฟันแล้ว ถ้าเราดูแลดีไม่ปลอยให้ช่องปากมีโรคปริทันต์อีก ก็จะอยู่ได้นานมาก ๆ ค่ะ

ความรู้สึกเจ็บนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณรอยโรค และการอักเสบของเนื้อเยื้อภายในฟัน คุณหมอจะใช้ยาชาร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ ปวด ในระหว่างการรักษา แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาแล้ว อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดี ขึ้นตามลำดับ

เนื่องจากฟันที่ต้องรักษารากฟันมักมีการสูญเสียเนื้อฟันไปบางส่วนจากการผุ หรือฟันแตก การทำครอบฟันหลังจากรักษารากฟันนั้นเพื่อบูรณะฟันผิวฟันให้กลับแข็งแรง และป้องกันการแตกหักของฟันเนื่องจากการบดเคี้ยว

เดือยฟันเปรียบเสมือนเสาเข็มบ้าน เพื่อเสริมความแข็งแรงของเนื้อฟัน และให้ฟันซี่นั้นมีแกนฟันแข็งแรงพอสำหรับรองรับแรงบดเคี้ยวอาหาร ป้องกันไม่ให้เนื้อฟันที่เหลือน้อยแตกหักง่าย หากอุดฟันไปเลยฟันจะอ่อนแอ อาจจะแตกได้ง่ายในภายหลัง ทันตแพทย์จึงต้องใส่เดือยฟันเข้าไปเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับฟันก่อนการอุด หรือบูรณะด้วยการทำครอบฟัน

 สาเหตุที่ทำให้รากฟันอักเสบติดเชื้อ 

รากฟันอักเสบ หรือเนื้อเยื่อในฟันอักเสบมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีต้นเหตุจากฟันผุ ฟันแตกหัก ฟันร้าว โรคปริทันต์ชนิดรุนแรง หรือการได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง จนส่งผลให้รากฟันเกิดการติดเชื้อและเยื้อฟันอักเสบ หรือการตายของเนื้อเยื่อในฟันที่หากปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนานจะยิ่งทำให้ฟันและเนื้อเยื่อโดยรอบเกิดความเสียหายจนขยายวงกว้างมากขึ้น ทำให้การรักษามีความยากซับซ้อน มีโอกาสรักษาให้หายได้น้อยลง

  สาเหตุที่มีหนองบริเวณปลายราก  

หนองที่ปลายรากฟัน เกิดจากเนื้อเยื่อในฟันอักเสบหรือติดเชื้อเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา เกิดการสะสมจนลุกลามจากตัวฟันลงสู่รากฟัน ออกสู่เนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันจนเกิดการทำลายเนื้อเยื่อและการละลายของกระดูกรอบรากฟัน เกิดเป็นถุงหนองดันเนื้อเยื่อเหงือกทำให้เหงือกบวม เป็นหนอง และมีอาการปวด ในกรณีรุนแรงอาจมีอาการเหงือกบวม ปวดมาก ใบหน้าบวม  และอาจจะมีไข้ร่วม ถ้า  X Ray ดู จะมองเห็นเงาสีดำที่ปลายรากฟันที่แสดงให้เห็นถึงหนองหรือการอักเสบของเนื้อเยื่อในฟัน 



1.ทันตแพทย์จะทำการตรวจฟันอย่างละเอียด ด้วยการ x-ray ฟัน เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของรากฟันอักเสบ ใส่ยาชาเฉพาะที่ เพื่อป้องกันความเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างรักษา 


2.ทันตแพทย์ใส่แผ่นยางกั้นน้ำลาย เพื่อแยกฟันที่จะทำการรักษากับเนื้อเยื่อช่องปากโดยรอบ


3.ทันตแพทย์จะกรอเปิดให้เข้าถึงบริเวณโพรงเนื้อเยื่อในฟันและคลองรากฟันเพื่อกำจัดฟันผุหรือรอยร้าว  และกำจัดเนื้อเยื่อในฟันที่อักเสบติดเชื้อ 


4.ทันตแพทย์ทำความสะอาดผนังคลองรากฟันและตกแต่งรูปร่างคลองรากฟัน ร่วมกับการล้างคลองรากฟันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และใส่ยาในคลองรากฟัน และอุดชั่วคราว เพื่อกำกัดเชื้อและรอยโรคปลายรากให้หมดไป ***ในกรณีที่มีการอักเสบติดเชื้อรุนแรง ทันตแพทย์จะทำการรักษาโดยการใส่ยาหรือทำความสะอาดอยู่หลายครั้ง จนกว่าอาการรากฟันอักเสบจะหายเป็นปกติ*


5.เมื่อคนไข้ไม่มีอาการปวด รากฟันหายการอักเสบและสามารถเคี้ยวได้ตามปกติ ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟันแล้วส่งผู้เข้ารับการรักษาสู่ขั้นตอนการบูรณะตัวฟันด้านบน เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาคลองรากฟัน


การดูแลหลังการรักษารากฟันมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

1.ทันตแพทย์จะให้ยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวดบวม หรือปวดระบมบริเวณฟันซี่ที่ทำการรักษาตลอด 2-3 วัน หลังรับการรักษา
2.หลีกเลี่ยงการใช้งานฟันด้านที่ทำการรักษา 1 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุอุดชั่วคราวหลุดแตก
3.รักษาความสะอาดช่องปากและฟันด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้ตามปกติ
4.หากวัสดุอุดฟันหลุด ให้กลับมาพบทันตแพทย์โดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียรั่วซึมเข้าสู่คลองรากฟัน

***ควรมาพบทันตแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้งเพื่อความต่อเนื่องในการรักษาและติดตามอาการ เมื่อการรักษาคลองรากฟันเสร็จสิ้น ควรรีบทำการบูรณะตัวฟัน เช่น การทำเดือยฟัน และทำครอบฟัน โดยไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน***

 
ฟันด้านหน้า       1        ครองราก     6,000       บาท/ซี่
ฟันด้านหน้า       2        ครองราก     7,000       บาท/ซี่
ฟันกรามน้อย    1        ครองราก     8,000      บาท/ซี่
ฟันกรามน้อย    2        ครองราก     9,000      บาท/ซี่
ฟันกรามใหญ่    3        ครองราก    10,000 - 15,000     บาท/ซี่
ฟันกรามใหญ่ ซี่ 8 (ฟันคุด)              15,000    บาท/ซี่
(ค่าบริการรักษารากฟัน ไม่รวมค่าใช้จ่ายประกอบอื่น ๆ เช่น ค่า X Ray ค่ายา ค่า Str.)

 

7 ข้อดี ที่อยากเผยเคล็ดลับของการขูดหินปูนเป็นประจำ เพราะการขูดหินปูนเป็นวิธีในการกำจัด คราบหินปูน ที่เกาะอยู่ตามบริเวณฟัน และ ซอกฟัน โดยใช้เครื่องมือทันตกรรมให้หลุดออกไป ซึ่งจะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากและใช้เวลาไม่นาน ขึ้นอยู่กับปริมาณมาก น้อยของคราบหินปูนของแต่ละบุคคล

การถอนฟันเป็นการรักษาที่เป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะถ้าฟันยังสามารถรักษาด้วยการรักษาอื่น ๆ ได้ ก็จะเลือกวิธีการรักษานั้นก่อน เพราะการถอนฟันคือการสูญเสียฟันธรรมชาติไปอย่างถาวร และอาจจะสร้างปัญหาที่ตามมา เช่น ฟันซี่ข้างเคียงให้เกิดการเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่เปลี่ยนไปจากเดิมได้หากไม่ได้ใส่ฟันปลอม ฟันด้านบนหรือล่างอาจจะย้อยขึ้น ลง ตามแรงโน้มถ่วง เป็นต้น

ทำไมต้องเลือกอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันด้วยนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นในระดับโลก วัสดุสีเหมือนฟันนอกจากจะได้ผลลัพธ์จากการรักษาฟันผุที่ดีแล้ว การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันมักใช้เป็นการรักษาเพื่อความสวยงาม และสามารถปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของฟันที่เปลี่ยนสีไม่สวยหรือบิ่นได้ดูดี ดูสมบูรณ์ขึ้น

  ฟันคุด (Wisdom Teeth) เป็นฟันกรามด้านในซี่สุดท้าย ซึ่งปกติจะขึ้นเต็มที่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายจนถึงช่วงอายุ 20-25 ปี โดยปกติคนส่วนใหญ่มีฟันคุดทั้งหมด 4 ซี่ (ด้านบนซ้าย บนขวา ล่างซ้าย และล่างขวา)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้